วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ(Ecology)
1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปอาศัยอยู่รวมกันในแหล่งที่อยู่ใด ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา สาหร่าย อาศัยอยู่ในสระน้ำ เป็นต้น แต่ถ้ามีสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณใด ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จะเรียกว่า ประชากร (Population) เช่น ประชากรลิงแสมในป่าชายเลน จังหวัดระนอง เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีถึง 2000 ตัว เป็นต้น


2. แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณที่สิ่งมีชีวิตใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งผสมพันธุ์และเลี้ยงตัวอ่อน แหล่งหลบภัยหรือศัตรูธรรมชาติ เป็นต้น

3. ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกันหรืออาจเป็นสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยก็ได้ จึงอาจสรุปได้ว่า

- วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ เรียกว่า (Ecology)

- ระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)

-ระบบนิเวศมีหลากหลายรูปแบบ เช่น

- ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ทะเลสาบ ฯลฯ พบสิ่งมีชีวิตที่ ดำรงชีวิตต่าง ๆ กัน เช่น อาศัยอยู่ที่ผิวน้ำ (Neuston) ว่ายน้ำอิสระ (Nekton) ล่องลอยตามกระแสน้ำ (Plankton) อยู่ที่ผิวหน้าดิน (Benthos) เป็นต้น

- ระบบนิเวศในทะเลหรือมหาสมุทร ได้แก่ หาดทราย หาดหิน หาดโคลน ไหล่ทวีป ทะเล ลึก ฯลฯ สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตในแต่ละบริเวณต้องมีการปรับตัวให้ทนทานต่อความผันแปรของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ ความเค็ม น้ำขึ้นน้ำลง แรงกระแทกของคลื่น ความเข้มแสง ศัตรู ธรรมชาติ

- ระบบนิเวศป่าชายเลน พบบริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อยเนื่องจากเป็นเขตรอยต่อของน้ำ จืดกับน้ำเค็ม ความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการผันแปรได้ดี ตัวอย่างเช่น โกงกาง แสม ประสัก ลำพู สำแพน ตะบูน เสม็ด ปรงหนู เหงือกปลาหมอ ปูแสม กุ้งกุลาดำ หอยแครง แม่หอบ ฯลฯ
4. ปัจจัยทางกายภาพ (Physical factor) หมายถึง สภาพแวดล้อม ซึ่งไม่มีชีวิต แต่มีอิทธิพล ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ปัจจัยใดที่ขาดไปแล้วทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เรียกว่า (Limiting factor) เช่น อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อ

- กระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชและสัตว์เลือดเย็น - การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์เลือดอุ่น

- การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ต่าง ๆ แสงสว่าง มีอิทธิพลต่อ - อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

- การหุบบานของดอกไม้ , การออกดอกและติดผลของพืช - พฤติกรรมการหาอาหารของสัตว์ น้ำมีอิทธิพลต่อ

- การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ - การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ฯลฯ

5. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factor) หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีชีวิต ซึ่งก็คือ กลุ่มสิ่งมี ชีวิตนั่นเอง สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีบทบาทแตกต่างกัน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ 5.1 ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เองตามธรรมชาติ (Autotrophic organism) โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง มีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารในระบบนิเวศ ได้แก่ แพลงค์ตอนพีช (Phytoplankton) สาหร่ายสีเขียว (Green algae) และพืชทุกชนิด เป็นต้น พืชบางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และมีอวัยวะดักจับแมลงเป็นอาหาร จึงมีทั้ง ลักษณะของผู้ผลิตและผู้บริโภค เรียกว่า มิกโซโทรพ (Mixotroph) เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง เป็นต้น


แบคทีเรียบางชนิดสร้างอาหารได้โดยการสังเคราะห์แสงทางเคมี (Chemosynthesis)

5.2 ผู้บริโภค (Cunsumer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ (Heterotrophic organism) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

- ผู้บริโภคพืช (Herbivore) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร จัดเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 หรือผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumer) เพราะได้รับการถ่ายทอดพลังงานจาก

- ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ ไก่ เป็ด ฯลฯ กพืชโดยตรง เช่น วัว ควาย กระต่าย หนอน ตั๊กแตน ฯลฯ- ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต งู ฯลฯ

5.3 ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรง ชีวิตโดยการหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากพืชซากสัตว์กลายเป็นอินทรียสารโมเลกุลเล็ก ๆ แล้วดูดซึมเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย เป็นต้น - หากไม่มีผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ซากพืชซากสัตว์จะไม่เน่าเปื่อยและกองทับถมกันจนล้นโลก ย่อยสลายอินทรียสารเป็นตัวกลางเชื่อมโยงการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศและได้รับการถ่ายทอดพลังงานเป็นลำดับสุดท้าย


ไม่มีความคิดเห็น: